วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2560

วิธีใส่เอฟเฟค Visual Properties ใน Camtasia

และนี่คือช่วงการใส่เอฟเฟค Visual Properties

หน้าต่างของ Camtasia ในโหมด Visual Properties



โดยวิธีเข้าไปยัง Visual Properties มีขั้นตอนดังนี้

1.คลิ๊กที่ ไอคอน More

2.จะมีเมนูอื่นๆให้เลือก เลือก Visual Properties


 3.คุณจะอยู่ในหน้า Visual Properties



หน้าต่างช่อง Visual Properties
ที่ใช้หลักๆ ประกอบด้วย
1. Add animation ( ซึ่งจะบอกวิธีตอนหลัง )
2. Scale
3. Opacity
4. Rotation
5. Visual Effects
  5.1 Drop shadow
  5.2 Colorize
  5.3 Border
  5.4 Remove a color



การขยาย/ย่อภาพด้วย Scale
สงสัยว่าถ้าปรับขนาดในจอได้แล้ว จะปรับใน Scale ไปทำไม ?
เราจะใช้ Scale ในกรณีที่ 
1. ต้องการขยายภาพให้ตรงกึ่งกลาง
2. ใช้ Scale ย่อภาพในกรณีที่ย่อภาพผ่านจอแสดงผลลำบาก



การทำภาพโปร่งใสขึ้นด้วย Opacity
ภาพสามารถกลืนกับพื้นหลังได้ หากทำให้โปร่งใสขึ้น



การทำภาพ 3D ด้วย Rotation
อาจไม่จำเป็นสำหรับคุณตอนต้น แต่ถ้าคุณตัดต่อคลิปมานาน แน่นอนคุณจะรู้ว่า ใช้ Rotation มันสุดยอดแค่ไหน



Z หมุนภาพ


Y หมุนแกนภาพ


X พลิกภาพ


การทำVisual Effects
1. เอฟเฟคเงา คุณสามารถใส่เงา และตั้งค่าได้ตามต้องการ



 2. เอฟเฟคสี คุณสามารถเปลี่ยงสีภาพได้





3. เอฟเฟคขอบ คุณสามารถใส่ขอบภาพได้



3. เอฟเฟคลบสี ( Color Key ) ถือเป็นเอฟเฟคที่ดีมากๆ สำหรับวิดีโอ วิธีใช้ดังนี้

1. เลือก Remove a color จะได้หน้าจอดังนี้


2. เลือก Select Color ในช่องเลือกสี


3. เลือกสีที่จะตัดออก



4. ทาด้าาาา !


หากคุณเลือก Invert Effect คุณจะพบอะไรแปลกๆดังนี้


หลังจากทำเป็นคลิปแล้ว


คิดไอเดียตัดต่ออะไรได้ก็ลองมาแชร์กันดูนะจ๊ะ

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิธีแก้ไขเสียงใน Camtasia

ตอนนี้ถึงช่วงวิธีการตั้งค่าเสียงในการตัดต่อ ผมจะบอกเฉพาะที่ผมใช้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเนื้อหาหน้านี้จะน้อยหน่อยนะฮะ


หน้าต่างของ Camtasia ในโหมดตั้งค่าเสียง
หน้าปกติช่อง Clip Bin ก่อนคลิ๊กเข้าช่อง Audio


หลังคลิ๊กเข้าช่อง Audio



หน้าต่างช่อง Audio
ที่ใช้หลักๆ ประกอบด้วย
1. Silence






คาดหวังอะไรอีกล่ะ แค่นี้แหละที่ผมใช้
ต่อจากนี้จะเป็นการตั้งค่าในเรื่องต่างๆนะคะ

การปรับความดังของเสียง
ถ้าคุณสังเกตุที่ไฟล์ในช่อง Track จะพบเส้นสีเขียวในไฟล์ ซึ่งเส้นนั้นคือปริมาณเสียง ยิ่งสูงยิ่งดัง ยิ่งต่ำยิ่งเบา

โดยคุณสามารถปรับได้โดยเพียงกดค้างที่เส้นแล้วลากขึ้นลง


การบิดเส้นความดังเสียง
จากคลิปที่ดัง ค่อยๆเบาอย่างช้าๆ นั่นคือสิ่งที่คุณต้องอยากทำในการตัดต่อแน่ๆ โดยการคลิ๊กขวาที่เส้นตรงจุดที่เราต้องการ

แล้วเลือก Add Audio Point


คุณจะได้ลูกกลมๆตรงนี้

ซึ่งถ้าขยับลูกกลมๆขึ้นลง จะได้ดังนี้

ดูเส้นสปาเก็ตตี้นี่สิ

การดับเสียง
เลือกไฟล์ แล้วคลิ๊กที่ Silence








หมดแล้วค่ะ มีแค่นี้แหละครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พื้นฐานวิธีการใช้ Camtasia

ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งการตัดต่อ โลกที่คุณสามารถเปลี่ยนโลกโง่ๆ เป็นโลก M78 ได้ภายในพริบตา

พื้นฐานการใช้ Camtasia ไม่ยากเลย หากเคยตัดต่อมาก่อนจะรู้ว่ามีวิธีใช้คล้ายกับโปรแกรมตัดต่อโดยทั่วไป

หน้าต่างหลักๆของ Camtasia ประกอบด้วย


1.ช่องใส่ วิดีโอ/เสียง/รูป เพื่อแสดง





2.คลังเก็บ วิดีโอ/เสียง/รูป





3.หน้าจอแสดงผล



3 อย่างนี้ คือหน้าต่างพื้นฐานของ Camtasia รวมถึงโปรแกรมตัดต่อทุกประเภทด้วย จุ๊บๆ

ต่อจากนี้จะอธิบายพื้นฐานตามจุดต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ

การเพิ่มไฟล์ลงคลัง
ง่ายๆคือนำภาพจากแหล่งต่างๆมารวมในคลังเพื่อความสะดวก
ซึ่งอยู่ใน Clip Bin ดังนั้นต้องเลือก Clip Bin ก่อนถึงใส่ไฟล์เข้าคลังได้



จากนั้นเลือกไฟล์ตามใจปราถนา




เมื่อเลือกได้แล้ว ลากเข้ามาในกล่องเลยไอ้หนู



 เสร็จแล้ววางเลยจ๊ะที่รัก




นั่นแหละ คุณเพิ่มไฟล์ลงคลังได้แล้ว Easy ๆ

การเพิ่มไฟล์ลงช่องใส่มีเดียเพื่อตัดต่อ
หลักการเดียวกันกับ การเพิ่มไฟล์ลงคลัง เป๊ะ เพียงลากไฟล์ในคลังลงในช่องเท่านั้นเอง



ลากไฟล์ลงบนช่อง



 แล้ววาง




จะเห็นว่าจอแสดงผล กำลังแสดงชายน้อยผู้น่ารัก Kirby ของเราอยู่ ที่เราเห็น Kirby สุดแสนจะน่าร้าาากกกก~ ได้ก็เพราะว่า

เข็มแสดงผล

เมื่อเข็มชี้ที่จุดใด ภาพบนจอแสดงผลจะปรากฎตามจุดนั้น




ขยับเข็มได้ด้วยการลากเข็ม (กดที่เข็มค้างแล้วลากซ้ายขวา)




การกดเล่นจอแสดงผล
เข็มจะขยับไปทางขวาเรื่อยๆทันที ทำให้เกิดเป็นวิดีโอแสดงในจอแสดงภาพให้ตรวจสอบ



การขยับไฟล์
เพียงแค่ลากไฟล์ไปซ้ายขวาก็ํย้ายได้แล้ว






การขยาย/หดขนาดแผงช่อง



บางครั้ง การที่ช่องมีปริมาณไฟล์เยอะมากๆ จะทำให้จัดการไฟล์ในช่องลำบากขึ้น จึงต้องมีการหดแผงช่อง เพื่อดูช่องโดยรวม แล้วจึงขยายแผงไปยังไฟล์ที่ต้องการจะแก้ไข



เพียงลากสัญลักษณ์กลมๆไปซ้ายขวา




ขณะที่ ปุ่มแรกขยายความยาว ยังมีปุ่มขยายความกว้างอีกด้วย





การปรับระยะเวลาในการแสดงของไฟล์
เพียงกดค้างที่ปลายภาพของไฟล์


เเล้วลากซ้ายขวา ยิ่งยาว เวลาในการแสดงยิ่งนาน





การคัดลอง/วาง/ลบตั้งค่าไฟล์ด้านอื่นๆ
คลิ๊กขวาที่ไฟล์ จะพบกับตั้งค่าต่างๆ 

แต่หากอยากได้ความเร็วแล้วละก็ มีปุ่มลัดหลักง่ายๆดังนี้
ลบ         กดปุ่ม Delete ( Del )
คัดลอก  กดปุ่ม Ctrl+C
วาง        กดปุ่ม Ctrl+V

การเพิ่มชั้นแผงช่อง
เพื่อทำให้ไฟล์ทั้งสอง แสดงซ้อนพร้อมกันได้ ไม่ว่าจะกรณีแบบเสียง ภาพ หรือ วิดีโอก็ตาม

เพียงคลิ๊กที่ปุ่ม (+) เพื่อเพิ่มแผงชั้น






ก็จะได้แผงชั้นเพิ่มมาอีก 1 ชั้น คุณสามารถใส่ไฟล์ต่างๆเพิ่มขึ้นในช่องนี้ได้



สังเกตุว่าภาพ Track ที่อยู่สูงกว่า จะทับ Track ที่อยู่ต่ำกว่าเสมอ



การปรับขนาดไฟล์ภาพ , วิดีโอ
คุณสามารถปรับได้โดยคลิ๊กที่ภาพ จากนั้นคลิ๊กที่ปลายภาพบนจอแสดงผลแล้วลาก




 ลองลากไปทางซ้ายกัน



  น่าเกลียด ลองคลิ๊กค้างที่จุดตรงกลางซ้ายแล้วหมุนดูดีกว่า




 ไม่ต่างจากตอนแรกเท่าไหร่ ลองคลิ๊กจุดตรงกลางที่ภาพแล้วลากดู




จะเห็นว่าคุณสามารถปรับภาพได้ในหลายรูปแบบ




 การทำให้เป็นไฟล์วิดีโอ .Avi Produce And Share



คือการทำให้ไฟล์ที่ตัดต่อเปลี่ยนเป็นคลิปไฟล์จริงๆ มีขั้นตอนดังนี้

1. คลิ๊กปุ่มที่ Produce And Share



2. จะขึ้นหน้าต่างให้ปรับว่า จะแปลงไฟล์ให้เป็นอย่างไร



 ซึ่งมีหลายตัวเลือก แต่ผมแนะนำให้เลือก MP4 Only ( up to 1080p )



3. คลิ๊ก Next แล้วจะเจอหน้าต่อไป ซึ่งจะให้ตั้งชื่อกับถามว่าให้แปลงไฟล์ไปไว้ที่ไหน



แนะนำให้ติ๊ก Organize produced files into sub-folders ออก
เพราะผมเชื่อว่า คุณคงไม่อยากเจอเหตุการณ์เหมือน เปิดกล่องของขวัญเจอกล่องของขวัญ หรอกใช่มั้ย ?



4. คลิ๊ก Finish แล้วรอ



 ติ๊ง !! เวฟคลิปสุกแล้ว สดๆร้อนๆพร้อมดู





ลองตัดต่อคลิปแล้วมาโชว์กันดูสิ เอามาให้ผมดูก็ได้ ผมชอบดูผลงานของคนอื่นอยู่แล้ว จุ๊บๆ